งาน MS PPT



          พัทลุง เป็นเมืองอันเก่าแก่โบราณเมืองหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย

เป็นเมืองแห่งขุนเขาตัวเมืองมีเขาอกทะลุเป็นสัญญลักษณ์สูงเด่นมองเห็นแต่ไกลได้ชื่อว่าเป็นเมืองต้นกำเนิดหนังตะลุงและ โนราด้วย พัทลุงจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานเกี่ยวเนื่องกับจังหวัดสงขลา
ทั้งทางด้านภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ และโยกย้ายชุมชนที่ตั้งเมืองหลายยุคหลายสมัย ในสมัยศรี
วิชัย (พุทธศตวรรษที่13 - 14 ) บริเวณเมืองพัทลุงเป็นแหล่งชุมชนที่ได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียในด้าน
ศาสนาพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน จนกระทั่งในสมัยรัชกาลพระรามาธิบดี ที่ 1 ( อู่ทอง ) แห่งกรุงศรี
อยุธยา " เมืองพัทลุง " เป็นส่วนหนึ่งใน 12 เมืองนักษัตร สมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธ
ยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกเมืองพัทลุงขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม โดยมีฐานะเป็นเมืองชั้นโทและได้ย้ายเมืองไปอยู่ที่ปากน้ำลำปำ
เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมืองพัทลุง ได้
ขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2467 รัชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองมาตั้ง
ที่ตำบลคูหาสวรรค์ ซึ่งเป็นที่ตั้งในปัจจุบัน เมื่อได้ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลในปี 2476
พัทลุงจึงได้มีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่บัดนั้น
ตัวเมืองพัทลุง ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลา ห่างจากกรุงเทพมหานคร
ประมาณ 846 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 3,424.473 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 10
อำเภอกับ 1 กิ่ง ได้แก่ อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอควนขนุน อำเภอปากพะยูน อำเภอกงหรา อำเภอ
ตะโหมด อำเภอเขาชัยสน อำเภอป่าบอน อำเภอบางแก้ว อำเภอศรีบรรพต อำเภอป่าพะยอม และ
กิ่งอำเภอศรีนครินทร์



           การเดินทาง
       รถยนต์ : จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางแรก ตามทางหลวง
แผ่นดินสายเพชรเกษม หมายเลข 4 ถึงชุมพร ( สี่แยกปฐมพร ) แยกเข้าระนอง - พังงา - กระบี่ - ตรัง
พัทลุง ระยะทางประมาณ 1,140 กิโลเมตร หรือ เส้นทางที่ 2 เมื่อมาถึงชุมพรเข้าทางหลวงชนบท
หมายเลข 41(เอเชีย) จนถึงจังหวัดพัทลุง ระยะทางประมาณ 846 กิโลเมตร
       รถโดยสารประจำทาง : บริษัท ขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถระหว่างกรุงเทพฯ -
พัทลุง ทุกวัน โทร. 02 - 435 - 1199 , 435 - 1200 หรือ โทร. 074 - 612 - 070
       รถไฟ : มีขบวนรถไฟสายใต้ผ่านท้องที่อำเภอเมือง อำเภอควนขนุน อำเภอเขาชัยสน
อำเภอปากพะยูน อำเภอป่าบอน อำเภอบางแก้ว รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่
โทร. 02 - 223 - 7010 , 223 - 7020 หรือ 074 - 616 - 106
      เครื่องบิน : พัทลุงไม่มีสนามบิน สามารถใช้เส้นทางบินของจังหวัดใกล้เคียงได้ ติดต่อ
สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ที่ บริษัท การบินไทย โทร. 02 - 280 - 0060 - 89 หรือ ที่การ
บินไทยจังหวัดตรัง โทร. 075 - 218 - 0666 / 219 - 923 การบินไทย นครศรีธรรมราช
โทร. 075 - 311 - 158 ,342 - 491, 343 - 874 และการบินไทย หาดใหญ่ โทร. 074 - 245 - 851 - 2
243 - 711, 233 - 433







ภูเขาอกทะลุ จากวัดคูหาสวรรค์มุ่งหน้าไปบนทางหลวงหมายเลข 4047 จะพบเขาอกทะลุ
ตั้งตะหง่านอยู่ทางทิศตะวันออกของสถานีรถไฟ ภูเขาอกทะลุเป็นสัญญลักษณ์ของพัทลุง มีความสูง
ประมาณ 250 เมตร มีบันไดสำหรับขึ้นยอดเขาเพื่อชมวิวทิวทัศน์ของเมืองพัทลุงได้ ลักษณะพิเศษของ
ภูเขาลูกนี้ คือ มีโพรงทะลุมองเห็นอีกด้านหนึ่ง อยู่บริเวณเกือบตอนปลายของยอดเขา ซึ่งเป็นที่มาของ
ชื่อภูเขา
วัดวัง ตั้งอยู่ที่ตำบลลำปำ ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 4047 ประมาณ
6 กม. (ใช้เส้นทางสายเดียวกับเขาอกทะลุ) เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดพัทลุง สร้าง
โดยพระยาพัทลุง (ทองขาว) ในสมัยรัชกาลที่ 3 และเคยเป็นสถานที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในสมัย
รัตนโกสินทร์ ภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนฝาผนังเขียนด้วยสีฝุ่น ในรัชกาลที่ 4 เกี่ยวกับพุทธประวัติ
และเทพ พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นสมัยเดียวกัน ในระเบียงคดโดยรอบมีพระพุทธรูปปูนปั้น
จำนวน 108 องค์
วังเจ้าเมืองพัทลุง (วังเก่า - วังใหม่) ตั้งอยู่ที่ตำบลลำปำใกล้กับวัดวัง เดิมเป็นที่ว่าราชการ
และเป็นที่อยู่อาศัยของเจ้าเมืองพัทลุง ปัจจุบันยังเหลืออยู่ส่วนหนึ่ง คือ วังเก่า สร้างในสมัยพระยาพัทลุง
(น้อย จันทโรจนวงษ์) เป็นผู้ว่าราชการ ต่อมาวังได้ตกทอดมาจนถึงนางประไพ มุตามะระ บุตรีของหลวง
วรฉัตร ส่วนวังใหม่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2432 โดยพระยาอภัยบริรักษ์จักราวิชิตพิพิธภัดี ( เนตร จันทโรจน์-
วงษ์ ) บุตรชายของพระยาพัทลุง ซึ่งเป็นเจ้าเมืองพัทลุง ปัจจุบันทายาทตระกูลจันทโรจน์วงษ์ ได้มอบ
วังนี้ให้เป็นสมบัติของชาติและกรมศิลปากรได้ประกาศ ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อ
พ.ศ. 2526
อนุสาวรีย์พระยาทุกขราษฎร์ ( ช่วย ) ประดิษฐานอยู่ที่สามแยกท่ามิหรำ ในเขตเทศบาล
เมืองพัทลุง ตามประวัติกล่าวว่าพระยาทุกขราษฎร์เดิมเป็นพระ ชื่อ พระมหาช่วย จำพรรษาอยู่ที่วัดป่า
ลิไลยก์ ในรัชกาลที่ 1 ซึ่งขณะนั้นเกิดสงคราม 9 ทัพ พระมหาช่วยได้ช่วยพระยาพัทลุงนำชาวบ้านเข้า
ต่อต้านกองทัพพม่าจนแตกพ่าย ต่อมาจึงลาสิกขาบทแล้วได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาทุกขราษฎร์
ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยทำราชการเมืองพัทลุง มีตำแหน่ง " พระยา " เทียบเท่าเจ้าเมือง
หาดแสนสุขลำปำ อยู่เลยวัดวังไปตามทางหลวงหมายเลข 4047 อีกประมาณ 2 กิโลเมตร
เป็นหาดทรายที่มีทิวสนร่มรื่นฝั่งทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเซีย กลาง
วงเวียนมีรูปปั้นฝูงปลาลำปำ ซึ่งเป็นปลาท้องถิ่นที่อยู่อาศัยบริเวณลำปำ มีศาลากลางน้ำชื่อว่า " ศาลา
ลำปำที่รัก " สำหรับชมทิวทัศน์บริเวณทะเลสาบ และจากบริเวณชายหาดมีสะพานเชื่อมไปยังเกาะลอย
ซึ่งเป็นเกาะที่เกิดจากการทับถมของตะกอนปากน้ำลำปำ นอกจากนี้ในบริเวณทะเลสาปลำปำยังมีฝูง
ปลาโลมาหัวบาตรปรากฎให้เห็นบ่อยครั้ง
หมู่บ้านหัตถกรรม บ้านคอกวัว ต.ชัยบุรี อ.เมือง ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางสี่แยก
ไสยวน ประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านหัตถกรรมผลิตภัณฑ์กะลาที่มีชื่อเสียงโด่งจนมีชื่อว่า
" หมู่บ้านกะลาเงินล้าน " เนื่องจากผู้นำชุมชน โดย นายปลื้ม ชูคง ได้เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรใช้ภูมิปัญญา
ชาวบ้าน นำกะลามะพร้าวอันเป็นวัสดุพื้นบ้านธรรมชาติมาออกแบบเป็นภาชนะใช้สอยในครัวเรือน
อุปกรณ์ เครื่องใช้และเครื่องประดับ และได้เผยแพร่ความรู้ต่อไปจนมีสมาชิกกว่าร้อยราย รวมกันทำ
ผลิตภัณฑ์กะลาทั่วทั้งหมู่บ้าน ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว ได้แก่ ช้อน ถ้วยกาแฟ ถ้วยน้ำ กระบวย
ตักน้ำ ทัพพี จาน ชาม ไปจนถึงโคมไฟและเครื่องประดับนานาชนิด ส่งตลาดในประเทศและต่างประ
เทศ อย่างแพระหลายกว่า 16 ประเทศ สนใจเข้าชมวิถีชีวิตชาวบ้านและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กะลา
มะพร้าว ติดต่อ นายปลื้ม ชูคง เลขที่ 42 หมู่ที่ 1 บ้านคอกวัว ต.ชัยบุรี โทร. 01 - 4655751







อำเภอควนขนุน
อุทยานนกน้ำทะเลน้อย เป็นอุทยานนกน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ใช้เส้นทางหลวง
หมายเลข 4048 จากอำเภอเมืองพัทลุง - อำเภอควนขนุน ไปสุดที่ทะเลน้อย รวมระยะทางประมาณ
32 กิโลเมตร ทางราดยางตลอดทั้งสาย เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย กรมป่าไม้ มีพื้นที่ประมาณ
450 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นพื้นดิน 422 ตารางกิโลเมตรหรือ ร้อยละ 94 ของพื้นที่
ทั้งหมด ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ 28 ตารางกิโลเมตร หรือ ร้อยละ 6 ของพื้นที่ทั้งหมด คือ ทะเลน้อยนั้นเอง
มีความกว้าง 5 กิโลเมตร และยาว 6 กิโลเมตร ความลึกโดยเฉลี่ยราว 1.2 เมตร ปกคลุมด้วยพืชน้ำ
ต่าง ๆ เช่น บัว จูด หญ้าน้ำ กก ปรือ กง ทะเลน้อยเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีนกน้ำ นกประจำถิ่น
และนกอพยพอยู่มากมายกว่า 187 ชนิด แยกออกเป็นนกประจำถิ่นซึ่งอาศัยอยู่ตลอดปี และนกอพยพ
ย้ายถิ่นมาในช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงมีประชากรมากที่สุด ส่วน
ช่วงที่มีน้อยที่สุดในเดือนมิถุนายน - กันยายน อันเป็นช่วงที่นกน้ำทำรัง จำนวนนกที่มีมากได้แก่ นก
วงศ์นกยาง ได้แก่ นกยางหัวไฟ นกยางโทนใหญ่ นกกาบบัว และนกกระสาแดง วงศ์นกเป็ดน้ำ เช่น
นกเป็ดแดง เป็ดคับแค เป็ดลายและเป็ดผี วงศ์นกอัญชัญ เช่น นกอัญชัญคิ้วขาว นกกวัก นกอีลุ้ม
นกอีล้ำและนกคู๊ท วงศ์นกพริก ได้แก่ นกอีแจว และนกพริก วงศ์นกน้ำ ได้แก่ นกกาน้ำเล็ก และนก
กาน้ำใหญ่ วงศ์นกตีนเทียน และเหยี่ยวต่าง ๆ เช่น เหยี่ยวแดง นอกจากนี้ยังมีนกที่พบเป็นประจำ
ได้แก่ นกกระแตแต้แว้ด นกนางนวลแกรบเคราขาว นกกระเต็นน้อยธรรมดา และนกนางแอ่นบ้าน
เป็นต้น ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการศึกษาธรรมชาตินกและพรรณไม้น้ำที่ดีที่สุดอยู่ในช่วงเดือน
ตุลาคม - มีนาคม เพราะนอกจากจะพบเห็นนกจำนวนมากแล้ว ผืนน้ำอันกว้างใหญ่ไพศาลจะสวยงาม
ตระการตาไปด้วยบัวสายสีชมพูบานสะพรั่งไปทั่ว ทั้งยังมีวิถีชีวิตของชุมชนที่มีการประกอบอาชีพหลาก
หลาย แต่โดดเด่นในการเป็นหมู่บ้านหัตถกรรมทำเสื่อจูด ซึ่งเป็นวัสดุพื้นบ้านหลักจากทะเลน้อย ด้วย
ปัจจุบันทะเลน้อยได้รับเลือกให้เป็นแรมซ่าร์ไซด์ หรือ พื้นที่ชุ่มน้ำของโลก เป็นแห่งแรกของ
ประเทศไทย เพื่อที่จะรักษาระบบนิเวศโดยรอบให้มีความยั่งยืนและกำลังได้รับการพัฒนาพื้นที่ให้เป็น
ศูนย์ธรรมชาติที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ มีการควบคุมดูแลการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่
ทะเลน้อยอย่างระมัดระวังผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือไปชมนกได้จากท่าเรือทะเลน้อยที่มีการจัดแบ่งเส้นทางการท่องเที่ยว
เป็น 2 เส้นทาง เส้นทางสายแรกเป็นเส้นทางสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไป มีเรือบริการนำเที่ยวโดยชุมชน
ทะเลน้อยอีกเส้นทางหนึ่ง สำหรับนักวิชาการและการศึกษา โดยขออนุญาตและนำชมจากเจ้าหน้าที
อุทยานฯ ภายในอุทยาน มีเรือนพักไว้บริการนักท่องเที่ยวด้วย ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ กรมป่าไม้
กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02 - 597 - 7223, 579 - 5734 และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย อำเภอควนขนุน
จังหวัดพัทลุง โทร. 074 - 615722
การเดินทางไปทะเลน้อยสามารถเดินทางได้ทั้งทางรถยนต์ และทางเรือนั้นสามารถเดินทาง
จากอำเภอต่าง ๆ ที่อยู่ริมทะเล เช่น อำเภอระโนด อำเภอสะทิงพระ และอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
อำเภอปากพะยูน อำเภอควนขนุน และอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ส่วนทางรถไฟลงรถไฟที่สถานีปาก
คลอง จากนั้นต่อรถยนต์ไปทะเลน้อยอีก 8 กิโลเมตร

อำเภอเขาชัยสน
บ่อน้ำร้อน ธารน้ำเย็น จากตัวจังหวัดไปทางใต้ ตามทางหลวงหมายเลข 4 ประมาณ 25
กิโลเมตร เมื่อถึงกิโลเมตรที่ 47 ( บ้านท่านางพรหม ) จะมีทางแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4081
ไปอำเภอเขาชัยสนประมาณ 7 กิโลเมตร บริเวณถนนสุขาภิบาล ซอย 2 ติดที่ว่าการอำเภอเขาชัยสน
จะมีถนนราดยาง แยกขวามือเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ถึงหน้าผาเชิงเขาชัยสน อันเป็นที่ตั้งของ
บ่อน้ำเย็นแต่งเป็นสวนพักผ่อน เลยไปอีก 300 เมตร เป็นบ่อน้ำร้อน ลักษณะเป็นแอ่งน้ำร้อน เชื่อกันว่า
เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้รักษาโรคบางอย่างได้
วัดเขียนบางแก้ว อยู่บนทางหลวงหมายเลข 4081 เลยที่ว่าการอำเภอเขาชัยสนไป
ประมาณ 7 กิโลเมตร ในเขตบ้านบางแก้วตรงกิโลเมตรที่ 14 พอดี จะมีทางเข้าอยู่ด้านซ้ายมือ
วัดเขียนตั้งอยู่ริมทะเลสาบสงขลา เป็นวัดเก่าแก่ที่มีพระธาตุบางแก้ว ซึ่งสร้างแบบเดียวกับพระมหา
ธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช แต่มีขนาดเล็กกว่าเป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองพัทลุง
ซึ่งเชื่อกันว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น สันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณวัดเขียนนี้เป็นที่ตั้งของ
เมืองพัทลุงมาก่อน เพราะได้พบซากปรักหักพังของศิลาแลง และพระพุทธรูปมากมาย
แหลมจองถนน ตั้งอยู่ที่ตำบลจองถนน จากตัวเมืองพัทลุงไปตามเส้นทางสายเพชรเกษม
เลี้ยวซ้ายผ่านอำเภอเขาชัยสนไปอีกประมาณ 12 กิโลเมตร รวมระยทางจากตัวเมืองประมาณ 39
กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านชาวประมงอยู่บนเนินดินและลาดชันลงไปยังทะเลสาบสงขลา ซึ่งมีสภาพเป็นน้ำ
กร่อยและสามารถมองเห็นทิวทัศน์เกาะแก่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม